ไปสัพเพ??

ในสังคมไทย มีการใช้คำที่ไม่ถูกต้อง ผิดความหมายเดิม เช่น น่าสงสาร น่าเวทนา น่าโมโห ฯลฯ

น่าสงสาร หากแปลตามศัพท์เดิม = น่าเวียนว่ายตายเกิด?? กลายมาเป็นน่าเห็นใจได้อย่างไร

น่าเวทนา หากแปลตามศัพท์เดิม = น่ารู้สึก?? กลายมาเป็นน่าเศร้าได้อย่างไร

น่าโมโห หากแปลตามศัพท์เดิม = น่าหลงหรือน่าไม่รู้ ?? กลายมาเป็นน่าโกรธได้อย่างไร

ตอนนี้กำลังจะมีการใช้คำผิดความหมายเดิมเพิ่มอีกคำ คือ “ไปสัพเพ” ซึ่งหากแปลตามศัพท์เดิม = ไปทั้งหลาย?? กลายมาเป็น ไปแผ่เมตตาได้อย่างไร

ต้นตอมาจากผู้ที่ศรัทธาหลวงปู่ในชั้นหลัง ซึ่งสมัยหลวงปู่มีชีวิต ก็ไม่เคยได้ยินหลวงปู่ หรือแม้แต่สานุศิษย์หลวงปู่ใช้คำนี้เลย

ที่มาก็คือความสับสน ไปจำเอาบทอาราธนาพระที่ขึ้นต้นว่า “สัพเพ พุทธา ฯ” มาเป็นบทแผ่เมตตา แล้วทีนี้ก็บานปลายกันไป

จะอย่างไรดีล่ะ ปล่อยให้เลยตามเลย หรือจะสะกิดบอกกล่าวกันดี

อีกอย่างหนึ่ง การแผ่เมตตาเป็นเรื่องของจิตใจ อยู่ตรงไหนก็แผ่จากตรงนั้นได้ ไม่ต้องขึ้นรถ ลงเรือไปแผ่เมตตาก็ได้ เว้นแต่สถานที่อยู่ปัจจุบันไม่สงบ ไม่เอื้อต่อการแผ่เมตตา สมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านเดินทางปฏิบัติภาวนาตามป่าตามเขา หรือตามป่าช้า ท่านปฏิบัติแล้วก็แผ่เมตตาตรงนั้น มิใช่ท่านจะขวนขวายเดินทางไปเพื่อแผ่เมตตา แต่ท่านตรงไปเพื่อภาวนาของท่าน การแผ่เมตตาเป็นของแถมดอก

“พอ” (๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑)

ภาพประกอบ Image by Katie Phillips from Pixabay 
(https://pixabay.com/users/kyasarin-88139

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments