หลวงพ่อเกษม เขมโก

หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๑)

พระสงฆ์ผู้ที่หลวงปู่ดู่ …
ให้ดูเป็นแบบอย่าง

พระสงฆ์ผู้ที่หลวงปู่ดู่ …
พูดถึงบ่อยที่สุดองค์หนึ่ง

พระสงฆ์ผู้ที่หลวงปู่ดู่ …
เคารพสุดหัวใจ

“ให้ทำตามท่านไป
ข้าไหว้ท่านทุกวัน”

คำพูดที่หลวงปู่ดู่
ท่านฝากลูกศิษย์ไว้

กราบหลวงพ่อดู่
กราบหลวงปู่เกษม
กราบหลวงพ่อเกษม
กราบหลวงปู่ดู่

หนึ่งพระอรหันต์
หนึ่งพระโพธิสัตว์
ปรมัตถบารมี …

_/|\_ _/|\_ _/|\_

บทความ คุณเมธา


หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๒)

หลวงพ่อเกษม ปูนปั้น
ทาสีทอง ขนาด ๙ นิ้ว
มีให้บูชาที่วัดสะแก
สมัยหลวงปู่ยังอยู่
ในราคา ๓๐๐ บาท

มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่ง
เป็นอาจารย์อยู่กรุงเทพฯ
มาบูชาพระหลวงปู่ดู่
ไปหลายองค์
หนึ่งในนั้นคือพระบูชา
หลวงพ่อเกษมองค์นี้

หลายปีก่อน
ท่านได้มอบให้ผมไว้
ตอนนั้นเป็นพระชำรุด
ปูนแตกตรงหัวไหล่ขวา
จนเห็นเป็นสีขาว
ผมได้นำไปขอลุงแกระ
ช่วยซ่อมให้ ทาสีทอง
ปิดทับให้สวยเหมือนเดิม
บูชามาจนถึงทุกวันนี้

หลวงปู่ดู่
ท่านเคยสอนผมไว้
ใครมีวาสนากับพระองค์ไหน
กับครูอาจารย์คนไหน
(ท่านหมายถึงชาติก่อน)
ถ้าได้เป็นลูกศิษย์ท่าน
(ในชาตินี้)
จะเรียนให้สำเร็จได้
แต่ถ้าไม่มีนิสัยวาสนาแล้ว
ไปกราบครูอาจารย์
องค์ไหนๆ ที่เขาว่าดีกัน
“ไปเรียนได้ แต่ไม่สำเร็จ”

เพราะเหตุใด
ตอบว่า … เพราะ
ไม่เคยทำบุญร่วมกัน
ไม่เคยมีวาสนาต่อกัน
ไม่ใช่คู่ปราบ
คู่ปรับกัน!!!

_/|\_ _/|\_ _/|\_

บทความ คุณเมธา


หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๓)

หลวงปู่ดู่ท่านบอกผมว่า

“หลวงพ่อเกษม
ท่านจะนั่งในป่าช้า
เพื่อฝึกอย่างอุกฤษฏ์
ปีนึงสองหน
ตอนร้อนที่สุดกับ
หนาวที่สุด
มีผ้าอังสะผืนเดียว
(ไม่มีผ้าจีวรห่มอีกชั้น)”

คำว่า “อุกฤษฏ์” หมายถึง
ขั้นสูงสุด ยิ่งยวด

ผมได้ศึกษาประวัติ
และปฏิปทาหลวงพ่อเกษม
พบว่าท่านทำอย่างนี้
เพื่อฝึก “แยกจิตจากกาย”

การอยู่ในป่าช้า
ถือเป็นธุดงควัตรอย่างหนึ่ง
ของพระภิกษุ
ที่เดินตามรอยพระพุทธเจ้า
บำเพ็ญเพียรแผดเผากิเลส
ท่านฝึกธุดงควัตร
เพื่อขัดเกลากิเลสหลายข้อ
นอกจากอยู่ป่าช้า
ยังมีข้อเนสัชชิกัง
การไม่นอนเป็นวัตร
มีเฉพาะอิริยาบถ ๓
ยืน เดิน นั่ง
ไม่เอนหลังนอนแตะพื้น
และท่านยังถือธุดงควัตร
ข้ออื่นๆ อีก
รวมหลายข้อทีเดียว

หากผู้ปฏิบัติไม่มีจิตใจ
ที่เข้มแข็ง แข็งแกร่ง
จะไม่สามารถทำได้เลย

หลวงปู่ดู่
ท่านยังเล่าว่า

ท่านเรียกหลวงพ่อเกษม
ว่า “คนใจเพชร”

ที่สำคัญคือได้ฝึกบารมี
ทั้ง ๑๐ อย่าง ครบหมดในนี้
มีทั้งความเพียร วิริยะบารมี, ความอดทน ขันติบารมี,
ความจริงใจ สัจจะบารมี,
เนกขัมมะบารมี
การออกบวชเว้นจากบาป,
ปัญญาบารมี, อธิษฐานบารมี
ความตั้งใจมั่น, ทานบารมี
การสละความเป็นตัวตนออก,
ศีลบารมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น,
เมตตาบารมี, และที่สุดคืออุเบกขาบารมี

หลวงพ่อเกษม
ท่าน “ทำจริง”
เอาชีวิตเข้าแลก
เอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ถึงอย่างนี้ ขนาดนี้
ตายเป็นตาย
เพื่อให้ได้ธรรมแท้ๆ
กว่าจะมาเป็น
ครูบาอาจารย์ที่เคารพ
ของพวกเรา

แล้วเราล่ะ
ทำความเพียร
แค่หยิบมือเดียว
ประเดี๋ยวเดียว
แต่หวังผลเท่าภูเขา
เราทำจริงๆ แค่ไหน
ปฏิบัติกัน
จริงหรือเปล่า???

บทความ คุณเมธา


หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๔)
“เพชรยอดมงกุฏ”

ภาพเก่าเล่าเรื่อง
ในหลวง ร.๙ เสด็จ
ทรงเยี่ยมหลวงพ่อเกษม
ที่วัดคะตึกเชียงมั่น

พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ
ท่านได้บันทึกบทสนทนา
ตอนสำคัญตอนหนึ่ง
ไว้ดังนี้ …

ในหลวง: หลวงพ่ออยู่ตามป่า
มีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระ
ที่วัดในเมือง ซึ่งมีภารกิจ
เกี่ยวกับการปกครองและ
งานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้น
หรือเปล่า

หลวงพ่อ: ขอถวายพระพร
อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้
เพราะอยู่ในป่าไม่มีภารกิจ
อย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับ
ศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อ
ศีลบริสุทธิ์ จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน
นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้

ในหลวง ร.๙ พระองค์
เปรียบเหมือนเพชร
ที่อยู่สูงสุดบนยอดมงกุฏ
ทรงนั่งคุกเข่าสนทนาธรรม
กับหลวงพ่อถึงวิธีการปฏิบัติ

อ่านถึงตรงนี้ ผมรู้สึกว่า
หลวงพ่อเกษม
ท่านเฉลยข้อสอบให้ฟัง
พวกเราทุกคน
จะปฏิบัติ (ให้ดี) ได้
ขึ้นอยู่กับ ๒ ข้อ นี้

๑. มีศีลบริสุทธิ์
๒. จิตไม่มีนิวรณ์

ศีลบริสุทธิ์ เป็นยังไง?
นิวรณ์ คืออะไร?

บทความ คุณเมธา


หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๕)
สลึงนึง หนึ่งในสี่

ช่วงที่ผมมาฝึกหัดปฏิบัติ
กับหลวงปู่ในช่วงแรก
ประมาณปี ๒๕-๒๖ นั้น

มีวันหนึ่ง
ที่ผมมากราบหลวงปู่
ท่านบอกผมว่า
ให้ไปที่หน้าพระพุทธ
ที่หอสวดมนต์
ตั้งจิตอธิษฐานขอฝากตัว
เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม
ผมไม่รอช้า
กราบหลวงปู่
แล้วเดินมาที่หอสวดมนต์
กราบพระตั้งจิตอธิษฐาน
ตามที่ท่านแนะนำ
ขอหลวงพ่อเกษม
โปรดเมตตา
ชี้แนะการปฏิบัติให้ผมด้วย

หลังจากนั้นไม่นาน
วันหนึ่ง
ผมเห็นหลวงพ่อเกษม
ในขณะนั่งสมาธิอยู่ที่บ้าน
ในนิมิตนั้น
ท่านนั่งในท่าขัดสมาธิ
ท่านกวักมือเรียกผมเข้าไปหา
ใบหน้าท่านยิ้มนัอยๆ
เมื่อผมเดินเข้ามาใกล้ๆ
ก่อนจะก้มลงกราบ
ผมเห็นท่านยกมือขวาขึ้น
ในมือท่าน
ที่หัวแม่มือกับนิ้วชี้
ที่ท่านชูขึ้นมานั้น
มีวัตถุกลมๆ สีทอง
มีแสงสว่างมาก
มากจนมองไม่เห็น
ว่าสิ่งนั้นคืออะไร
จากนั้น ท่านยื่นมือมอบ
วัตถุที่มีแสงสว่างนี้
ให้กับผม ตอนที่รับมา
อยู่ในมือ จึงมองเห็น
ว่าเป็น “เหรียญสลึง”
ขณะที่ผมรับหนึ่งสลึง
จากท่านนั้น
ตัวผมสว่างไปหมด
เกิดปีติขึ้นอย่างแรง
หลังจากนั้น
ผมก็ได้มาเล่านิมิตนี้
ถวายหลวงปู่

ขอหลวงปู่
เมตตาสอนด้วย
หลวงปู่ดู่ท่านมองหน้าผม
ก่อนที่จะพูดว่า

“ข้านั่งดูซองยา
(บุหรี่สามิต)
ถ้าแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน
โสดา สกิทาคา อนาคา
อรหันต์
เหมือนการปฏิบัติ
ที่แกทำอยู่นี่
ยังได้ไม่ถึง
หนึ่งในสี่เลย”

พูดจบหลวงปู่ก็อมยิ้ม
ผมร้องโอ้โห
ต่อหน้าหลวงปู่
อย่าว่าแต่ครึ่งนึง
หนึ่งในสี่
เรานี่ก็ยังไม่ถึง
เลยหนอ

นี้คือที่มาที่ไปของเรื่อง
“หนึ่งในสี่”
นิมิตเหรียญสลึง =
บาทหนึ่ง มีสี่สลึง
ที่หลวงปู่ดู่ท่านสอน
และผมได้บันทึกไว้
เป็นกำลังใจ
เป็นเป้าหมายปลายทาง
ที่หลายคนต่างมุ่งหวัง
ตั้งใจไปถึงให้ได้

สมช.ในนี้
มีเป้าหมายในใจ
ไว้อย่างไร
หนึ่งสลึง … สามสลึง
หรือหนึ่งบาท
ลองถามตัวเองดู
แล้วการปฏิบัติ
ฝึกหัดของเรา เหมาะสม
ตรงกับเป้าหมาย
แล้วหรือยัง!!!

_/|\_ _/|\_ _/|\_

บทความ คุณเมธา


หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๖.๑)
ปริศนาธรรม

หลวงปู่ดู่ท่านเล่าว่า
ที่หลวงพ่อเกษม
ท่านเขียนไว้
(ที่สุสานไตรลักษณ์)

“อยากเห็นไม่หัน
อยากหันไม่เห็น”

ข้ายังหันไปหันมาอยู่
หลวงพ่อเกษม
ท่านเขียนอย่างนั้น
นั่น! แกว่าไง

บทความ คุณเมธา


หลวงพ่อเกษม เขมโก (ตอนที่ ๖.๒)

คำเฉลย
อยู่ในหนังสือเล่มนี้
ตอนที่
“พระพุทธเจ้าทรง
ทรมาน
ท้าวพกาพรหม”

ความลับที่มากับ
พระเครื่องฯ =>
ความลับ
ที่มากับ “พระเหนือพรหม”

บางคน
ในกลุ่มเชียนพระ
ก็จะบอกว่า
“พระเหนือพรหม”
เป็น signature
หลวงปู่ดู่

จะใช่ หรือไม่ใช่
ก็ไม่สำคัญเท่า
เรามอง “เห็น”
ความลับ หรือ “ธรรม”
ที่ซ่อนอยู่ภายใน
ที่หลวงปู่ฝากไว้
หรือไม่!!!

ดับทุกข์ได้ ที่ตรงนี้

เห็นพระเหรือพรหม
อยากได้พระเหนือพรหม
มีคนมาเสนอราคา
ให้บูชาหลักหมื่นหลักแสน

“ทุกข์เกิดทันที”

จะหาตังค์จากไหน
ได้พระมา จะรักษายังไง
บางคนขโมยขึ้นบ้าน
ขนเอาพระไปแล้วก็มี
พระหาย
กลับกลายเป็นทุกข์อีก
ทุกข์ทั้งนั้นเลย
ตั้งแต่
ยังไม่มีพระ =>
ได้พระมา =>
พระหายไป

มัวแต่หัน => เลยไม่เห็น
ถ้าเห็นแล้ว => ก็ไม่ต้องหัน

วันนี้
เราหันเห็น
หรือ
เราเห็นหัน
กันอยู่หนอ!!!

บทความ คุณเมธา

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments