แบบปฏิบัติเบื้องต้น

สำหรับ​ผู้​ที่​ศรัทธา​ในหลวง​ปู่​ดู่​ และ​สนใจ​ใคร่​จะ​ฝึกหัด​กรรม​ฐาน​ ตาม​แนวทาง​ที่​ท่าน​สอน​ ​แต่​ยัง​ไม่รู้​ว่า​จะ​เริ่ม​อย่างไร​ดี​ ​ผู้​เขียน​ก็​ขอ​อนุญาต​ยก​ตัวอย่าง​ไว้​พอ​เป็น​แนวทาง​​ดังนี้​

๑​.​​ เริ่มต้นด้วยการกล่าวคำบูชาพระ ​สมาทาน​ศีล ​(​เปลี่ยน​ศีล​ข้อ​กาเมสุมิจฉาจาร ​เป็น​ อ​พรัหม​จริยา​ฯ​ ​เพื่อ​เตรียม​จิต​ก่อน​อธิษฐาน​บวช​จิต​)​ ​จาก​นั้น​ ​ก็​กล่าว​คำ​อาราธนา​กรรม​ฐานโดยว่า​.​.​.​

พุทธ​ัง​ อา​ราธะนัง​ กะโรมิ​
ธัมมัง​ ​อา​ราธะนัง​ กะ​โรม​ิ ​
สังฆ​ัง​ อา​ราธะนัง​ กะ​โรม​ิ
นะโม​โพธิ​สัต​โต​ ​อา​คัน​ติ​มา​ยะ​ ​อิ​ติภะคะ​วา​ ​(​ ​๓​ ​ครั้ง​ ​)​ ​
นะโม​ ​พรหม​ปัญโญ (​​๓​​ ครั้ง)​
เป็นต้น

​๒​.​​ ในเบื้องต้น ​ยัง​ไม่​ต้อง​รีบ​ร้อน​บริ​กรรม​ภาวนา​​หรือ​นึก​นิมิต​ใด​ๆ หาก​แต่​ให้​ปรับ​ท่า​นั่ง​ให้​เป็นที่สบาย ​สูด​ลม​หายใจ​ลึก​ๆ​ ​สัก​สอง​สาม​ครั้ง​ พร้อม​กับ​ทำ​จิตใจ​ของ​เรา​ให้​ปลอด​โปร่ง​โล่ง​ว่าง​ ​สร้าง​ฉันทะ​ที่​จะ​ปฏิบัติ​กรรม​ฐาน​​ ระลึก​ว่า​เรา​กำลัง​ใช้​เวลา​ที่​มี​คุณค่า​แก่​ชีวิต​​ซึ่ง​จะ​เป็น​สิ่ง​ติดตัว​เรา​ไป​ทุก​ภพ​ทุก​ชาติ​

๓​.​ ​กล่าว​อาราธนา ​ขอ​ให้​พระพุทธเจ้า​ ​หลวง​ปู่ทวด​ ​หลวง​ปู่​ดู่​ หลวง​ปู่​เกษม​ ​ได้​โปรด​มา​เป็น​ผู้นำ​และ​อุปการะ​จิต​ใน​การ​ปฏิบัติ​ธรรมครั้ง​นี้​จาก​นั้น​ ​ก็​น้อม​จิต​กราบ​พระ​ว่า​.​.​. ​พุทธ​ัง​วันทา​มิ​ ​ธัมมัง​วันทา​มิ​ สังฆ​ัง​วันทา​มิ​

๔​.​​ สำรวจอารมณ์ที่ค้างคาอยู่ในใจเรา ​แล้ว​ชำระ​มัน​ออก​ไป​ ​ทั้ง​เรื่อง​น่า​สนุก​เพลิดเพลิน​ ​หรือ​เรื่อง​ชวน​ให้​ขุ่น​มัว​ต่าง​ๆ​ ​ตลอด​ถึง​ความ​ง่วงเหงา​หาวนอน​ ​และ​ความ​ฟุ้ง​ซ่าน​รำคาญ​ใจ​ ​รวม​ทั้ง​ปล่อย​วาง​ความ​ลังเล​สงสัย​ต่าง​ๆ

๕​.​ ​เมื่อ​ชำระ​นิวรณ์​อัน​เป็น​อุปสรรค​ของ​การ​เจริญ​สมาธิ​ออก​ไป​ใน​ระดับ​หนึ่ง​แล้ว​ กระทั่ง​รู้สึก​ปลอด​โปร่ง​โล่ง​ว่าง​ตาม​สมควร​ ​จึง​ค่อยบริ​กรรม​ภาวนา​ใน​ใจ​ว่า ​“​พุทธ​ัง​ ​สรณ​ัง​ ​คัจ​ฉา​มิ​ ธัมมัง​ สรณ​ัง​ คัจฉา​มิ​ สังฆ​ัง​ ​สรณ​ัง​ ​คัจฉา​มิ​”​

​๖​.​ ​มี​หลัก​อยู่​ว่า​ต้อ​งบ​ริ​กรรม​ภาวนา​ด้วย​ใจ​ที่​สบาย​ๆ​ ​(​ยิ้ม​น้อย​ๆ​ ใน​ดวงใจ​) ​ไม่​เคร่งเครียด​ หรือ​จี้​จ้อง​บังคับ​ใจ​จน​เกิน​ไป​

๗​.​ ​ทำความ​รู้สึก​ว่า​ร่างกาย​ของ​เรา​โปร่ง​ ​กระทั่ง​ว่า​ลม​ที่​พัด​ผ่าน​ร่างกาย​เรา​ คล้าย​ๆ​ ​กับ​ว่า​จะ​ทะลุ​ผ่าน​ร่าง​ของ​เรา​ออก​ไป​ได้​​

๘​.​ ​ให้​มี​จิต​ยินดี​ใน​ทุก​ๆ​ ​คำ​บริ​กรรม​ภาวนา​ ​ว่า​ทุก​ๆ​ ​คำ​บริ​กรรม​ภาวนา​จะ​กลั่น​จิต​ของ​เรา​ให้​ใส​สว่าง​ขึ้น​ๆ​

๙​.​ ​เอา​จิต​ที่​เป็น​สมาธิ​นี้​มา​พิจารณา​ร่างกาย​ว่า​มัน​เป็น​ก้อน​ทุกข์​ ยาม​จะ​แก่​จะ​เจ็บ​จะ​ตาย​ ​เรา​ก็​ไม่​อาจ​บังคับ​บัญชา​​หรือ​ห้าม​ปราม​มัน​ได้​ ถึง​แม้ว่า​เรา​จะ​ดูแล​มันดี​อย่างไร​​มัน​ก็​จะ​ทรยศ​เรา​​มัน​จะ​ไม่​เชื่อ​ฟัง​เรา​ ให้​พิจารณา​ให้​ละเอียด​ลง​ไป​ซ้ำ​ๆ​ จนกว่า​จิต​จะ​เห็น​ความ​จริง​และ​ยอมรับ​ เมื่อ​จิต​ยอมรับ​ จิต​ก็​จะ​คลาย​จาก​ความ​ยึด​มั่น​ถือ​มั่น​ว่า​กาย​นี้​เป็น​เรา​หรือ​เป็น​ของ​เรา​

​(​การ​ปฏิบัติ​กรรม​ฐาน​ครั้ง​ต่อ​ไป​ ก็​อาจ​เปลี่ยน​เป็นการ​พิจารณา​อย่าง​อื่น​ ​เป็นต้น​ว่า​ร่างกาย​เรา​หรือ​คน​อื่น​ก็​สัก​แต่​ว่า​เป็น​โครง​กระดูก​ ​แม้​ภายนอก​จะ​ดู​แตก​ต่าง​ มี​ทั้ง​ที่​ผิว​พรรณ​งาม​ ​หรือ​ทราม​อย่างไร​​ แต่​เบื้อง​ลึก​ภายใน​ก็​ไม่​แตก​ต่าง​กัน​ใน​ความ​เป็น​กระดูก​ ​ที่​ไม่​น่า​ดู​น่า​ชม​​เสมอ​กัน​หมด ​​ให้​พิจารณา​ให้​จิต​ยอมรับ​ความ​จริง​​เพื่อ​ให้​คลาย​ความ​หลง​ยึด​ใน​ร่างกาย ​​ฯลฯ​)​

๑๐​.​ ​เมื่อ​รู้สึก​ว่า​จิต​เริ่ม​ขาด​กำลัง​หรือ​ความ​แจ่ม​ชัด​​ก็​ให้​หัน​กลับ​มาบ​ริ​กรรม​ภาวนา​เพื่อ​สร้าง​สมาธิ​ขึ้น​อีก​

๑๑​.​​ ในบางครั้งที่จิตขาดกำลัง ​หรือ​ขาด​ศรัทธา​ ​ก็​ให้​เรานึก​นิมิต​ (​นอก​เหนือ​จาก​คำ​บริ​กรรม​ภาวนา​)​ ​เช่น​ ​นึก​นิมิต​หลวง​ปู่​ดู่​​อยู่​เบื้อง​หน้า​เรา นึก​ง่าย​ๆ​ ​สบาย​ๆ​ให้​คำ​บริ​กรรม​ดัง​ก้อง​กังวาน​มา​จาก​องค์​นิมิต​นั้น​​ทำ​ไป​เรื่อย​ๆ​ ​เวลา​เผลอ​สติ​ไป​คิด​นึก​เรื่อง​อื่น​ ​ก็​พยายาม​มี​สติ​ระลึก​รู้​เท่า​ทัน​ ​ดึง​จิต​กลับ​มา​อยู่​ใน​องค์​บ​ริ​กรรม​ภาวนา​ดัง​เดิม​

๑๒​.​​ เมื่อจิตมีกำลังหรือรู้สึกถึงปีติ​และ​ความ​สว่าง​​ก็​ให้​พิจารณา​ทบทวน​ใน​เรื่อง​กาย​ ​หรือ​เรื่อง​ความ​ตาย​ ​หรือ​เรื่อง​ความ​พลัด​พราก​​ ฯลฯ ​หรือ​เรื่อง​อื่น​ใด​ ​โดย​มี​หลัก​ว่า​ต้อง​อยู่​ใน​กรอบ​ของ​เรื่อง​ความ​ไม่​เที่ยง ความ​เป็น​ทุกข์​ และ​ความ​ที่​ไม่ใช่​ตัว​ไม่ใช่​ตน​ที่​เที่ยง​แท้​แน่นอน ​(​อนัตตา​)​

๑๓​.​​ ก่อนจะเลิก ​(​หาก​จิต​ยัง​ไม่​รวม​​หรือ​ไม่​โปร่ง​เบา​​หรือ​ไม่​สว่าง​ ก็​ควร​เพียร​รวม​จิต​อีก​ครั้ง​ ​เพราะ​หลวง​ปู่​แนะ​ให้​เลิก​ตอน​ที่​จิต​ดี​ที่สุด​)​ จาก​นั้น​ก็​ให้​อาราธนา​พระ​เข้า​ตัวโดย​ว่า​

สัพ​เพ​พุทธ​า​ สัพ​เพ​ธัม​มา​ สัพเพสังฆาฆ​า​
พะลัปปัต​ตา​ ​ปัจเจก​านัญ​ ​จะ​ยัง​พะ​ลัง​ ​
อะระ​หัน​ตาน​ัญ​จะ​เต​ ​เชน​ะ​รัก​ขัง​ พันธ​า​มิ​สัพ​พะโส​
พุทธ​ัง​ ​อธิ​ษฐา​มิ​ ​ธัมมัง​ อธิษฐามิสังฆ​ัง​ ​อธิ​ษฐา​มิ​

โดยน้อมอาราธนาคุณพระพุทธ ​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ มา​ไว้​ที่​จิต​เรา​​หรือ​อาจ​จะ​นึก​เป็น​นิมิต​องค์​พระ​มา​ตั้ง​ไว้​ที่​ใน​ตัว​เรา​

๑๔​.​ ​สุดท้าย​ ​ให้​นึก​แผ่​เมตตา​ โดย​นึก​เป็น​แสง​สว่าง​ออก​จาก​ใจ​
เรา​พร้อม​ๆ ​​กับ​ว่า​.​.​.

พุทธ​ัง​​ อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ

โดย​น้อม​นึกถึง​บุญ​อัน​มากมาย​ไม่มี​ประมาณ​ของ​พระพุทธเจ้า​และ​พระ​อริย​สงฆ์​ทั้ง​หลาย​ ​อีก​ทั้ง​บุญ​กุศล​ที่​เรา​สั่งสม​มา​ดีแล้ว​ ​รวม​ทั้ง​บุญ​จาก​การ​ภาวนา​ใน​ครั้ง​นี้​ ​ไป​ให้​กับ​เทพ​ผู้​ปก​ปัก​รักษา​เรา​ ​ให้​กับ​เจ้า​กรรม​นายเวร​ ​ให้​กับ​บิดา​มารดา​ ครูบา​อาจารย์​​และญาติทั้งหลาย ตลอดจนผี​เหย้า​ผี​เรือน​ ​พระ​ภูมิ​เจ้า​ที่​​เทพ​​พรหม​​ทั้ง​หลาย​​และ​สรรพ​สัตว์​
ทั้ง​หลาย​ไม่มี​ประมาณ​ ​ท่าน​ทั้ง​หลาย​ที่​ยังมีความ​ทุกข์​ ​ขอ​จง​พ้น​ทุกข์​ ท่าน​ทั้ง​หลาย​ที่​มี​ความ​สุข​อยู่​แล้ว​​ขอ​จง​มี​ความ​สุข​ยิ่ง​ๆ​​ขึ้น​ไป​

ข้อควรทราบเพิ่มเติม

๑​.​​ นี้เป็นแค่ตัวอย่างวิธีปฏิบัติเพราะ​จริง​ๆ​​แล้ว​ไม่มี​แบบ​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​สูตร​สำเร็จ​​ ประกอบ​กับ​หลวง​ปู่​ท่าน​ได้วางกรอบ​เอา​ไว้กว้างๆ ​ดัง​นั้น​ ใน​ราย​ละเอียด​ปลีก​ย่อย​จึง​ไม่​แปลก​ที่​จะ​ปฏิบัติ​แตก​ต่าง​กัน​ออก​ไป​บ้าง​

๒​.​ ​การ​อาราธนา​พระ​เข้า​ตัว​ ​(​บท​สัพ​เพฯ​)​ ​ก็​เพื่อ​ว่า​เมื่อ​เวลา​เลิก​นั่ง​สมาธิ​ไป​แล้ว​​จะ​ได้​ระมัดระวัง​รักษา​องค์​พระ​ใน​ตัว​​โดย​การ​สำรวม​ระวัง​รักษา​กาย​ ​วาจา​ ใจ​ ตลอด​วัน​ไปกระทั่ง​ถึง​เวลา​นั่ง​สมาธิ​ใน​ครั้ง​ต่อ​ไป​

​๓​.​​ หากผู้ปฏิบัติมีพระสมเด็จฯ ​ของ​หลวง​ปู่​ดู่​ที่​ใช้​สำหรับ​กำ​นั่ง​สมาธิ​ ก็​ให้​นำ​มา​ไว้​ใน​กระ​พุ่ม​มือ​ พนม​ไว้​ที่​หน้าอก​ใน​ตอน​ที่​อาราธนา​กรรม​ฐาน​ จาก​นั้น​ก็​นำ​มากำ​ไว้​ใน​มือขวา​ ​โดย​ให้​เศียร​พระ​หัน​ไป​ทาง​นิ้ว​โป้ง​​ เอา​มือขวา​ทับ​มือ​ซ้าย​​นิ้ว​โป้ง​ทั้ง​สอง​จรด​กัน​

๔​.​​ เมื่อปฏิบัติจนจิตเริ่มปลอดโปร่ง หลวง​ปู่​เคย​แนะนำ​ให้​ผู้​ปฏิบัติ​อธิษฐาน​บวช​จิต​ ​โดย​ตั้ง​ความ​ปรารถนา​ขึ้น​ใน​ใจ​ว่า​

ข้าพเจ้า​ขอ​ถือ​เอา​องค์​สมเด็จ​พระ​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า​เป็น​พระ​อุป​ัชฌาย์​แห่ง​ข้าพเจ้า​
ขอ​ถือ​เอา​พระ​ธรรม​เจ้า​เป็น​พระกร​รม​วา​จา​จาร​ย์​
​ขอ​ถือ​เอา​พระ​อริย​สังฆ​เจ้า​เป็น​พระ​อนุ​สาว​นา​จาร​ย์​​
ขอจงสำเร็จการบวชจิต ณ กาลบัดนี้เทอญ

จากนั้นก็ให้​สร้าง​สมณ​สัญญา​ว่า​ขณะ​นี้​ ตัว​ของ​เรา​นุ่ง​ห่ม​ผ้า​กา​สาว​พัสตร์ ​ผู้ชาย​บวช​เป็น​ภิกษุ​​ ผู้​หญิง​บวช​เป็น​ภิกษุ​ณี​ แล้วสำรวม​จิต​และ​ปฏิบัติ​ภาวนา​ต่อ​ไป

​“​พอ​” (จากหนังสือ ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หน้า ๓๓๔-๓๓๘)

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments